3 พฤศจิกายน 2560 |
ประกาศผล โครงการที่ได้รับทุนสร้าง-สุข สนับสนุนค้นคว้าและวิจัยวิทยานิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2560
ประกาศผล โครงการที่ได้รับทุนสร้าง-สุข สนับสนุนค้นคว้าและวิจัยวิทยานิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2560

ตามที่โครงการพัฒนาเครือข่ายความรู้การออกเแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ประกาศรับสมัครทุนสร้าง-สุข เพื่อสนับสนุนวิทยานิพนธ์นิสิต นักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560 ขณะนี้ได้ปิดรับสมัครแล้ว และได้ดำเนินการตัดสินผลงานโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยโครงการที่ได้รับการคัดเลือกนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวข้องในการออกแบบเชิงสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และการสื่อสารสุขภาวะ รวมถึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดการสิ่งแวดล้อม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ ซึ่งโครงการที่ได้รับการคัดเลือกในครั้งนี้ จะได้รับทุนสนับสนุนโครงการละ 15,000 บาท จำนวน 6 ทุน ประกอบด้วย

1. โครงการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำตลาดสะพานปลา จังหวัดสมุทรปราการ (Fish Market Redevelopment , Samutprakan)
โดยนายกฤศกร สกุลสุวิชากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จุดเด่นของโครงการ : ส่งเสริมพื้นที่ตลาดริมน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนสำคัญของชุมชนในมิติเศรษฐกิจ และวิถีชีวิต โดยการฟื้นฟูพื้นที่เดิมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น มีรูปแบบชัดเจน มีความละเอียด และสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นต้นแบบให้ตลาดในพื้นที่อื่นๆได้เป็นอย่างดี

2. พื้นที่เรียนรู้และส่งเสริมวิถีชีวิตชุมชนดอยเต่า ภายใต้การเผชิญกับภาวะน้ำแล้ง (ศาลาดอยเต่า) (Community Center for Learning and Livelihood Development in Doi Tao Lake) โดยนายธนบรรณ อดทน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จุดเด่นของโครงการ : ให้ความสำคัญกับพื้นที่ห่างไกล โครงการช่วยเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีและความเป็นอยู่แก่คนในชุมชนดอนเต่า ภายหลังเผชิญสภาวะน้ำแล้ง สามารถฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงจิตวิญญานชุมชนให้กลับมามีพลัง พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาบ้านเกิดร่วมกัน

3. พื้นที่ทางเลือกเพื่อขยะไม่เป็นศูนย์ (Alternative Space for Zero Waste)
โดยนางสาวฐาณฤทัย วงศ์ใหญ่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
จุดเด่นของโครงการ :สร้างสุขภาวะที่ดีในการแก่ผู้คน ด้วยการจัดการพื้นที่ขยะให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการจัดการสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลพิษ และรักษาความสะอาด ซึ่งโครงการนี้สามารถพัฒนาพื้นที่ให้เป็นต้นแบบแก่พื้นที่อื่นๆได้ สามาถนำไปปรับใช้ได้จริง

4. โรงพยาบาลจิตเวชราชบุรี (Ratchaburi Psychaitric Hospital)
โดยนางสาวจตุพร จันทร์เทศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
จุดเด่นของโครงการ : ประเด็นน่าสนใจ เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยจิตเวชและบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้พื้นที่โรงพยาบาล ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความเหมาะสม โครงการมีรายละเอียดชัดเจน เนื้อหาครบถ้วน และมีความเป็นไปได้สูง

5. โครงการออกแบบสื่อส่งเสริมความเข้าใจโรคภาวะซึมเศร้าในกลุ่มวัยทำงาน (Media Design Project Promotes Understanding Depression in Working-Age Groups)
โดยนางสาวสิริพรรณ เคหาบาล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จุดเด่นของโครงการ : ประเด็นน่าสนใจ มุ่งไปที่การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยในอัตราสูงในปัจจุบัน จากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โครงการนี้เน้นการทำสื่อเพื่อสื่อสารความเข้าใจด้านสุขภาวะของผู้คนวัยทำงาน สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อคนกลุ่มอื่นๆได้อย่างเป็นวงกว้าง

6. การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบส่งเสริมการรับรู้พื้นที่ว่าง และองค์ประกอบของเมือง : กรณีศึกษา ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ( A Design Gulidline that Enhances Perception of Open Space and Urban Elements : A Case Study of Communities around Mahasarakham Campus, Kamriang Sub-Districk, Kantarawichai District, Maha Sarakham Province)
โดยนายนรเศรษฐ์ แสนทวีสุข คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จุดเด่นของโครงการ :สร้างการเรียนรู้ในชุมชน ให้ความสำคัญกับพื้นที่ว่างและองค์ประกอบของเมือง สามารถตอบโจทย์การพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี โครงการนี้ระบุกระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหา และวางแผนออกแบบ สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้จริง

ขอแสดงความยินดีกับโครงการที่ผ่านการคัดเลือก รายละเอียดการรับทุนจะแจ้งให้ทราบตามลำดับต่อไป
ประกาศวันที่ 5 พฤศจิกายน 2560
ลงนาม ผศ.ดร.สรนาถ สินอุไรพันธ์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์